...ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์ โรงเรียนพิศาลปุณณวิทยา องค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น มีวินัย ใส่ใจ สิ่งแวดล้อม....

ชื่อเรื่อง       การพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์    
                  ของนักเรียนโรงเรียนโนนโพธิ์ศรีวิทยาคม
ผู้วิจัย          ดำรง  ศิริมาลา

ปีที่พิมพ์       2565
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาในการจัดการเรียนรู้   ของครูเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์ 2) พัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์ตามทางเลือกและแผนปฏิบัติการร่วมกันและ3) ติดตามผลการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนโรงเรียนโนนโพธิ์ศรีวิทยาคม     
กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยครั้งนี้ประกอบไปด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา ครูและนักเรียน  โรงเรียนโนนโพธิ์ศรีวิทยาคม จำแนกเป็นกลุ่มผู้ร่วมวิจัยจำนวน 26 คน กลุ่มผู้ให้ข้อมูลจำนวน 63 คน โดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมโดยมีรูปแบบกระบวนการดำเนินงานวิจัยเป็น 3 ระยะ  คือ ระยะที่ 1 การเตรียมการวิจัย ระยะที่ 2 การปฏิบัติการวิจัย 2 วงรอบและระยะที่ 3 การสรุปผลการพัฒนา เครื่องมือวิจัยที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบสอบถาม แบบประเมินตนเอง แบบสังเกตพฤติกรรม แบบสัมภาษณ์และแบบบันทึกการนิเทศ การวิเคราะห์ข้อมูล  เชิงคุณภาพใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา ส่วนค่าสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
       1. สภาพปัจจุบันและปัญหาในการจัดการเรียนรู้ของครูเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์โรงเรียนโนนโพธิ์ศรีวิทยาคม มีดังนี้ 1) สภาพปัจจุบันในการจัดการเรียนรู้คือครูมีการจัดการเรียนรู้ไม่ได้เสริมสร้างให้นักเรียนเกิดทักษะการคิดวิเคราะห์ทำให้นักเรียนขาดการเชื่อมโยงและ     การสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง 2) ปัญหาในการจัดการเรียนรู้ คือ ครูไม่ได้รับการพัฒนาในการจัด การเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างให้ผู้เรียนเกิดทักษะการคิดวิเคราะห์และครูขาดความรู้ความเข้าใจในการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์
     2. การพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์ตามทางเลือกและแผนปฏิบัติการร่วมกันในวงรอบที่ 1 ใช้แนวทางการพัฒนาประกอบด้วย1) การประชุมเชิงปฏิบัติการ 2) การนิเทศติดตามและในวงรอบที่ 2 ใช้แนวทางการพัฒนาคือการนิเทศแบบให้คำชี้แนะ

  3. ผลการติดตามการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์พบว่า 1) ครูมีความรู้ความเข้าใจในการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์อยู่ในระดับมากที่สุด 2) ครูสามารถเขียนแผนการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์อยู่ในระดับมากที่สุดและ3) การพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้ส่งผลให้นักเรียนเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์อยู่ในระดับมากที่สุด


Title                       Teacher Development in Learning Management for Enhancing
Students’ Analytical Thinking in Non Pho Sri Wittayakom.
Researcher              Mr. Damrong Sirimala

Year Publication       2022
Abstract

The purposes of this study were to 1) to study current and problem conditions of teachers’ learning management for enhancing students’ analytical thinking 2) to develop teachers’ learning management for enhancing students’ analytical thinking based on alternatives and participatory action plan, and 3) to follow up teachers’ developmental results for enhancing students’ analytical thinking in Non Pho Sri Wittakom school.
The target group of this study were administrators, teachers and students; 26 co-researchers and 63 informants. There were 2 phases of this participatory action research as follows; phase 1: research preparation, phase 2: 2 cycles of research practice and phase 3: result summarization. The research tools were a questionnaire, a self-assessment form, a behavior observation form, an interview form and supervisory record form. The quantitative data were statistically analyzed by percentage, mean, standard deviation while qualitative data were analyzed with content analysis.
The research findings were as follows;
             1. A study of current and problem conditions of teachers’ learning management for enhancing students’ analytical thinking in Non Pho Sri Wittakom school were 1) according to current condition, the students were not enhanced analytical thinking, so they could not relate and construct their own knowledge and 2) according to problem condition, teachers were not developed to enhance students’ analytical thinking.
             2. The development of teachers’ learning management for enhancing students’ analytical thinking based on alternatives and participatory action plan in phase 1: the guidelines for development consisted of 1) workshop 2) supervision and monitoring and in phase 2: the guideline for development was coaching supervision.

          3. The results of teacher development in learning management for enhancing students’ analytical thinking were as follows; 1) teachers’ awareness toward learning management for enhancing students’ analytical thinking was at highest level, 2) teachers’ abilities of creating their lesson plans for enhancing students’ analytical thinking was at highest level, and 3) the improvement of students’ learning behaviors for enhancing students’ analytical thinking was at highest level.

 

 

กลับสู่ด้านบน