สืบเนื่องมาจากนโยบายขยายโอกาสทางการศึกษาของรัฐบาล และพัฒนาการศึกษา ระยะที่ 7 มุ่งส่งเสริมให้นักเรียนที่ด้อยโอกาสทางการศึกษาที่จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ได้เรียนต่อ ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เพิ่มมากขึ้น กระทรวงศึกษาธิการจึงมอบหมายให้คณะกรรมการการศึกษา ศาสนาและศิลปวัฒนธรรม จังหวัดเป็นผู้พิจารณากำหนดพื้นที่การเปิดโรงเรียนมัธยมศึกษาสาขาและคณะกรรมการการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ได้กำหนดพื้นที่โคกหนองม่วง บ้านเหล่านาดี ตำบลบ้านหว้า อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น และมอบหมายให้สำนักงานสามัญศึกษาจังหวัดขอนแก่น แต่งตั้งผู้อำนวยการโรงเรียนนครขอนแก่นขณะนั้น ให้ทำการเปิดโรงเรียนมัธยมศึกษา (สาขา) ขึ้นเพื่อขยายโอกาสทางการศึกษาให้กับประชาชนในเขตพื้นที่ ตำบลบ้านหว้า และตำบลดอนช้าง โดยใช้ชื่อว่า “โรงเรียนนครขอนแก่น สาขาเหล่านาดี” มอบหมายให้ นายทรงศักดิ์ อัคพราหมณ์ ตำแหน่งผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงเรียนนครขอนแก่นฝ่ายวิชาการเป็นหัวหน้าสาขาโรงเรียนได้ดำเนินการก่อสร้างอาคารชั่วคราว จัดหาอุปกรณ์ทางการศึกษา เปิดทำการสอนครั้งแรกเมื่อวันที่ 10 เดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2536 จำนวน 2 ห้องเรียน มีนักเรียนทั้งหมด 67 คน มีครู – อาจารย์ จำนวน 2 คน ต่อมาเมื่อ
วันที่ 28 เดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2540 ได้รับการประกาศโรงเรียนมัธยมศึกษาใหม่ นายสมชาย
เขตอนันต์ อำนวยการโรงเรียนนครขอนแก่น ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่ง หัวหน้าสถานศึกษา จนกระทั่งถึงวันที่ 11 เดือน กรกฎคม พ.ศ. 2540 กรมสามัญศึกษาจึงแต่งตั้งให้ นายทรงศักดิ์ อัคพราหมณ์ รักษาการในตำแหน่ง ครูใหญ่ เมื่อวันที่ 10 เดือน เมษายน พ.ศ. 2541 ดำรงตำแหน่ง ครูใหญ่ ระดับ 7 และเมื่อวันที่ 1 เดือน ตุลาคม พ.ศ. 2544 ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน
ทั้งนี้โรงเรียนได้รับการสนับสนุน วัสดุ อุปกรณ์ และทุนทรัพย์ ในการก่อสร้างอาคารชั่วคราวจากชาวตำบลบ้านหว้า และผู้มีจิตศรัทธาบริจาคสมทบทุน และที่สำคัญที่สุด คือ ได้รับการอุปถัมภ์จากพระครูพิศาลคณานุกิจ (หลวงพ่อมหาบุญทัน ปุญทัตโต) วัดป่าสามัคคีสันติธรรมบ้านค้อ ตำบลบ้านเหล่า อำเภอบ้านฝาง จังหวัดขอนแก่น เพื่อเป็นศิริมงคล และมีความเจริญรุ่งเรือง สืบไป จึงได้นำเอาฉายาของท่านมาตั้งเป็นชื่อโรงเรียน “พิศาลปุณณวิทยา”
โรงเรียนพิศาลปุณณวิทยา ทำหน้าที่จัดการศึกษาและให้บริการแก่เยาวชนในระดับ มัธยมศึกษา จำนวน 2 ระดับชั้น คือ ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น (มัธยมศึกษาปีที่ 1-3) และ ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (มัธยมศึกษาปีที่ 4-6) ตามหลักสูตรสถานศึกษา พ.ศ.2560 (ฉบับปรับปรุง) ซึ่งสอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และความต้องการของท้องถิ่น โดยมุ่งพัฒนาคุณภาพทางการศึกษาในทุกด้าน
ทำเนียบผู้บริหาร
1. นายสมชาย เขตอนันต์ ผู้อำนวยการโรงเรียนนครขอนแก่น ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่ง หัวหน้าสถานศึกษา (2536 – 2540)
2. นายทรงศักดิ์ อัคพราหมณ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนพิศาลปุณณวิทยา (2540 - 2556)
3. นายวุฒิชัย อินทรสว่าง ผู้อำนวยการโรงเรียนพิศาลปุณณวิทยา (2556 - 2560)
4. นางสุภลักษณ์ ดียิ่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนพิศาลปุณณวิทยา (2560 - 2561)
5. นายวินัย รุมฉิมพลี ผู้อำนวยการโรงเรียนพิศาลปุณณวิทยา (2561 - ปัจจุบัน)
ข้อมูลทั่วไป
ชื่อภาษาไทย โรงเรียนพิศาลปุณณวิทยา
ชื่อภาษาอังกฤษ PISANPUNNAWITTAYA SCHOOL
ที่อยู่ เลขที่ 252 หมู่ 11 ตำบลบ้านหว้า อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น
รหัสไปรษณีย์ 40000
การติดต่อ โทรศัพท์ 043-424307 , 095-5702331 โทรสาร 043-424308
Facebook http://www.facebook.com/pisanpunnawittaya
Website www.pisanschool.ac.th
อักษรย่อ พ.ป.ว อักษรย่อภาษาอังกฤษ P.P.W.
ตราประจำโรงเรียน

“พระธาตุขามแก่น ภายใต้วงกลมล้อมรอบ” หมายถึง พระธาตุขามแก่นเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิคู่บ้านคู่เมือง
แผ่บารมีให้เกิดความสงบร่มเย็น ความเบ่งบานด้านสติปัญญา และความอุดมสมบูรณ์ของชุมชน
ปรัชญาโรงเรียน เรียนดี มีวินัย ใฝ่ก้าวหน้า
คติพจน์ของโรงเรียน ธฺมฺมจารี สุขํ เสติ แปลว่า ผู้ประพฤติธรรมย่อมอยู่เป็นสุข
สีประจำโรงเรียน ฟ้า เหลือง แดง
สีฟ้า หมายถึง ความอดทน
สีเหลือง หมายถึง ความสงบร่มเย็น
สีแดง หมายถึง ความกล้าหาญ ความเจริญรุ่งเรือง
ต้นไม้ประจำโรงเรียน ต้นมะม่วงป่า
อัตลักษณ์ มีวินัย ใส่ใจสิ่งแวดล้อม
เอกลักษณ์ โรงเรียน น่าดู น่าอยู่ น่าเรียน
วิสัยทัศน์ (VISION)
“โรงเรียนพิศาลปุณณวิทยา จัดการศึกษาได้มาตรฐาน บริหารแบบมีส่วนร่วม น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างยั่งยืน”
พันธกิจ (MISSION)
- ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียน ให้มีสมรรถนะและคุณลักษณะอันพึงประสงค์
- ส่งเสริม และพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีคุณภาพ
- จัดหา และพัฒนาปัจจัยทางการศึกษาให้เพียงพอได้มาตรฐาน
- สร้างความเข้มแข็งแบบมีส่วนร่วมกับภาคีเครือข่ายอย่างยั่งยืน
- ส่งเสริม สนับสนุน การบริหารจัดการศึกษา โดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่น
- น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการจัดการศึกษาและการดำเนินชีวิตอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
เป้าประสงค์ (Goal)
- ผู้เรียนมีความรู้และสมรรถนะสำคัญตามหลักสูตร
- ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ มีทัศนคติที่ดีต่อศาสนา วัฒนธรรม ประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น
- ผู้เรียนมีทักษะในการทำงาน รักการทำงาน มีความสามารถในการคิดและอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างมีความสุข
- ครูและบุคลากรทางการศึกษามีคุณธรรม จริยธรรม และสามารถจัดการเรียนรู้ได้อย่างมีคุณภาพ
- ผู้บริหารสถานศึกษา มีคุณธรรม จริยธรรม มีภาวะผู้นำ และมีความสามารถในการบริหารจัดการศึกษา
- สถานศึกษามีจำนวนผู้เรียน มีทรัพยากร และสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมสนับสนุนให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้
- ชุมชน ผู้ปกครอง และภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการส่งเสริม สนับสนุนการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพ
- สถานศึกษาดำเนินการบริหารจัดการศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน
- สถานศึกษามีการส่งเสริม สนับสนุน การบริหารการศึกษา ให้แก่เด็ก เยาวชนและ ประชาชนทั่วไป ตามนโยบายพัฒนาการบริหารจัดการศึกษา โดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน
- โรงเรียนน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการจัดการศึกษาการดำเนินชีวิตอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
นโยบายของโรงเรียน
1. ผู้เรียนมีความรู้และสมรรถนะสำคัญตามหลักสูตร
2. ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ มีทัศนคติที่ดีต่อศาสนา วัฒนธรรม ประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น
3. ผู้เรียนมีทักษะในการทำงาน รักการทำงาน มีความสามารถในการคิดและอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างมีความสุข
4. ครูและบุคลากรทางการศึกษามีคุณธรรม จริยธรรม และสามารถจัดการเรียนรู้ได้อย่างมีคุณภาพ
5. ผู้บริหารสถานศึกษา มีคุณธรรม จริยธรรม มีภาวะผู้นำ และมีความสามารถในการบริหารจัดการศึกษา
6. สถานศึกษามีจำนวนผู้เรียน มีทรัพยากร และสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมสนับสนุนให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้
7. ชุมชน ผู้ปกครอง และภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการส่งเสริม สนับสนุนการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพ
8. สถานศึกษาดำเนินการบริหารจัดการศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน
9. สถานศึกษามีการส่งเสริม สนับสนุน การบริหารการศึกษา ให้แก่เด็ก เยาวชนและ ประชาชนทั่วไป ตามนโยบายพัฒนาการบริหารจัดการศึกษา โดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน
10. โรงเรียนน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการจัดการศึกษาการดำเนินชีวิตอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
|