...ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์ ฝ่ายบริหารทั่วไป โรงเรียนพิศาลปุณณวิทยา องค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น มีวินัย ใส่ใจ สิ่งแวดล้อม....

 

หลักการปฏิบัติงาน
          กลุ่มบริหารงานทั่วไป เป็นหน่วยงานที่ส่งเสริม สนับสนุนและประสานงานให้หน่วยงานต่างๆ จัดการศึกษาเป็นไปตามนโยบายและมาตรฐานการศึกษา มุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ของงานเพื่อประโยชน์ของบุคลากรทุกคน เกิดความคุ้มค่าในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ใช้ระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามกลยุทธ์ โดยเน้นความโปร่งใสความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้และเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล ยึดหลักการมีส่วนร่วมโดยมีกระบวน การวางแผน การดำเนินการตามแผนการกำกับ ติดตามผล อย่างเป็นระบบ

เป้าหมาย
          1.เพื่อให้การจัดการศึกษาของโรงเรียนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสามารถสนับสนุน ส่งเสริมการจัดการศึกษาให้บรรลุเป้าหมายตามวิสัยทัศน์ของโรงเรียน            2.เพื่อสนับสนุนให้หน่วยงานต่างๆของโรงเรียนในการดำเนินงานให้มีคุณภาพและสอดคล้องตามความต้องการจำเป็น

สิทธิประโยชน์ที่นักเรียนได้รับ
1. ได้รับการสนับสนุนให้นักเรียนได้เรียนฟรีจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ม.1 – ม.6)
2. ค่ารถ   จัดสรรให้นักเรียนได้รับค่ารถโดยคำนวณตามระยะทางจากโรงเรียนถึงหมู่บ้าน (ยกเว้นนักเรียนที่มีที่อยู่ในหมู่บ้านเหล่านาดีและกรณีที่นักเรียนนั่งรถที่ทางโรงเรียนจัดบริการรับ-ส่งฟรี)
3. หนังสือเรียนและสมุด   จัดสรรให้นักเรียนทุกคนได้รับหนังสือเรียนและสมุดครบทุกรายวิชา
4. ค่าอุปกรณ์การเรียน    ค่าอุปกรณ์การเรียนที่นักเรียนสามารถจัดซื้อได้ เช่น ปากกา ดินสอ ไม้บรรทัด เครื่องมือเรขาคณิต กระดาษ A4 ดินสอสี กระเป๋านักเรียน ฯลฯ ในอัตราดังนี้   

ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น              จำนวนเงิน  210 บาท/คน/ภาคเรียน   
ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย           จำนวนเงิน  230 บาท/คน/ภาคเรียน  
หมายเหตุ  โรงเรียนจ่ายเป็นเงินสดให้กับนักเรียนภาคเรียนละ 1 ครั้ง เพื่อไปเลือกซื้ออุปกรณ์การเรียนที่จำเป็น    

5. ค่าเครื่องแบบนักเรียน   เครื่องแบบนักเรียน ประกอบด้วยเสื้อ/กางเกง/กระโปรง กรณีนักเรียนมีชุดนักเรียนเพียงพอแล้วสามารถซื้อเข็มขัด รองเท้า ถุงเท้า ชุดลูกเสือ/เนตรนารีได้ในอัตราดังนี้   
ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวนเงิน  450 บาท/คน/ปี   
ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวนเงิน  500 บาท/คน/ปี   
หมายเหตุ โรงเรียนจ่ายเป็นเงินสดให้กับนักเรียนปีละ 1 ครั้ง  เพื่อไปเลือกซื้อเครื่องแบบ    นักเรียนถ้าชุดนักเรียนเพียงพอสามารถซื้อชุดเครื่องแบบอื่นๆได้ตามความเหมาะสม  เช่น  ชุดลูกเสือ  ชุดพลศึกษา  เป็นต้น

6. ในปีการศึกษา 2565 โรงเรียนพิศาลปุณณวิทยาได้ดำเนินการจัดทำประกันอุบัติเหตุให้กับนักเรียนโดยจ่ายค่าประกันอุบัติเหตุคนละ 250 บาท คุ้มครองการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุจำนวน 100,000 บาท (หนึ่งแสนบาทถ้วน) และสามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลตามสิทธิ์จากการได้รับอุบัติเหตุกรณีละไม่เกิน 6,000 บาท (หกพันบาทถ้วน) โดยต้องสำรองจ่ายเงินก่อน แล้วจึงนำหลักฐานตัวจริง ได้แก่ ใบรับรองแพทย์ ใบเสร็จรับเงิน มาทำกาเบิกที่ห้องการเงิน เพื่อดำเนินการเบิกจากบริษัท ทั้งนี้เริ่มมีผลตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2565 และสิ้นสุดการรับประกันในวันที่ 2 เมษายน 2566

นโยบายเรียนฟรี 15 ปี อย่างมีคุณภาพ

สรุปวิธีการจัดสรรตามนโยบายเรียนฟรี15 ปีอย่างมีคุณภาพ

1. ค่าเล่าเรียน จัดสรรให้ผู้เรียนตามอัตราค่าใช้จ่ายรายหัว
2. ค่าหนังสือเรียนและกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน จัดสรรให้สถานศึกษาบริหารจัดการเอง
3. ค่าอุปกรณ์การเรียนและเครื่องแบบนักเรียน จัดสรรให้สถานศึกษา แล้วส่งต่อให้ผู้ปกครองจัดซื้อเอง

หมวดค่าเล่าเรียน
กระทรวงศึกษาธิการได้จัดสรรงบประมาณค่าเล่าเรียน ให้แก่ผู้เรียนทั้งประเทศ ตามอัตราค่าใช้จ่ายต่อหัวที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติในแต่ละระดับและประเภท ดังนี้
ก. การศึกษาในระบบ
             -  อนุบาล                               คนละ   1,700     บาทต่อปี
             -  ประถมศึกษา                        คนละ   1,900     บาทต่อปี
             -  มัธยมต้น                             คนละ   3,500   บาทต่อปี        
             -  มัธยมปลาย                          คนละ   3,800     บาทต่อปี
             -  ปวช. (ช่างอุตสาหกรรม)           คนละ   6,500   บาทต่อปี

(พาณิชยกรรม)                      คนละ   4,900   บาทต่อปี
(คหกรรม)                             คนละ   5,500   บาทต่อปี
(ศิลปกรรม)                           คนละ   6,200   บาทต่อปี
(เกษตรกรรมทั่วไป)                 คนละ   5,900   บาทต่อปี
(เกษตรกรรมปฏิรูป)                 คนละ   11,900 บาทต่อปี

ข. การศึกษานอกระบบ
-  ประถมศึกษา                     คนละ   1,100   บาทต่อปี
-  มัธยมต้น                          คนละ   2,300     บาทต่อปี      
-  มัธยมปลาย                      คนละ   2,300   บาทต่อปี
-  ปวช.                               คนละ   4,240   บาทต่อปี

หมายเหตุ
           1. เพิ่มการอุดหนุนแก่นักเรียนอนุบาล 3 ขวบในโรงเรียนเอกชน
           2. ปรับเพิ่มอัตราอุดหนุนให้โรงเรียนเอกชนอีกร้อยละ 10

    

หมวดหนังสือเรียนเรียน

กระทรวงศึกษาธิการได้จัดสรรงบประมาณค่าหนังสือเรียนให้แก่สถานศึกษา สำหรับบริหารจัดการได้เองตามวัตถุประสงค์ โดยกำหนดวิธีการให้ถูกต้องตามระเบียบของราชการ และให้มีการจัดระบบหนังสือยืมเรียนเพื่อส่งต่อให้นักเรียนในรุ่นต่อๆ ได้นำไปใช้ ทั้งนี้ การดำเนินการคัดเลือกหนังสือเรียนของสถานศึกษานั้น กำหนดให้จะต้องมีการพิจารณาตัดสินใจร่วมกันระหว่างคณะกรรมการสถานศึกษากับภาคี 4 ฝ่าย ซึ่งประกอบด้วย ครูผู้ปกครอง กรรมการนักเรียน และผู้แทนชุมชน

สำหรับเกณฑ์ของเงินที่จะจัดสรรเป็นค่าหนังสือเรียนตามรายหัว มีดังนี้
ก. การศึกษาในระบบ
-  อนุบาล                                คนละ    200.00    บาท
-  ประถมศึกษาปีที่ 1                  คนละ    483.20    บาท
-  ประถมศึกษาปีที่ 2                  คนละ    347.20    บาท
-  ประถมศึกษาปีที่ 3                  คนละ    365.60    บาท
-  ประถมศึกษาปีที่ 4                  คนละ    580.00    บาท
-  ประถมศึกษาปีที่ 5                  คนละ    424.00    บาท
-  ประถมศึกษาปีที่ 6                  คนละ    496.00    บาท
-  มัธยมศึกษาปีที่ 1                   คนละ    739.20    บาท
-  มัธยมศึกษาปีที่ 2                   คนละ    564.80    บาท
-  มัธยมศึกษาปีที่ 3                   คนละ    560.00    บาท
-  มัธยมศึกษาปีที่ 4                   คนละ   1,160.80  บาท
-  มัธยมศึกษาปีที่ 5                   คนละ    805.60    บาท
-  มัธยมศึกษาปีที่ 6                   คนละ    763.20    บาท         
-  ปวช.                                   คนละ   1,000.00  บาท

ข. การศึกษานอกระบบ
-  ประถมศึกษา                         คนละ    290    บาทต่อปี
-  มัธยมต้น                              คนละ    360     บาทต่อปี       
-  มัธยมปลาย                          คนละ    400    บาทต่อปี
-  ปวช.                                   คนละ    500    บาทต่อปี

หมวดอุปกรณ์การเรียน

           กระทรวงศึกษาธิการได้จัดสรรงบประมาณให้สถานศึกษาดำเนินการจัดทำบัญชีจ่ายเงินสดให้แก่ผู้ปกครองของนักเรียนตามเกณฑ์ค่าใช้จ่ายรายหัว โดยผู้ปกครองและนักเรียนเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการจัดซื้อ อุปกรณ์การเรียนด้วยตนเอง และให้นำใบเสร็จรับเงินที่มีมูลค่าไม่ต่ำกว่าเงินสดนั้น มาเป็นหลักฐานแสดงกับสถานศึกษา โดยมีการตรวจสอบจากคณะกรรมการสถานศึกษาและภาคี 4 ฝ่ายอีกชั้นหนึ่งตัวอย่างรายการของอุปกรณ์การเรียน ได้แก่ แบบฝึกหัด สมุด ดินสอ ปากกา ยางลบ ไม้บรรทัด เครื่องมือเรขาคณิต วัสดุฝึกด้าน
คอมพิวเตอร์(เช่น แผ่นซีดี) กระดาษ A4 สีเทียน ดินน้ำมัน เป็นต้น

           สำหรับเกณฑ์ของเงินที่จะจัดสรรเป็นค่าอุปกรณ์การเรียนตามรายหัว มีดังนี้
-  อนุบาล              คนละ    100    บาทต่อภาคเรียน
-  ประถมศึกษา      คนละ    195    บาทต่อภาคเรียน
-  มัธยมต้น            คนละ    210 บาทต่อภาคเรียน  
-  มัธยมปลาย        คนละ    230    บาทต่อภาคเรียน
-  ปวช.                 คนละ    230    บาทต่อภาคเรียน

หมวดเครื่องแบบนักเรียน

กระทรวงศึกษาธิการได้จัดสรรงบประมาณให้สถานศึกษาดำเนินการจัดทำบัญชีจ่ายเงินสดให้แก่ผู้ปกครองของนักเรียนตามเกณฑ์ค่าใช้จ่ายรายหัว โดยผู้ปกครองและนักเรียนเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการจัดซื้อเครื่องแบบนักเรียนด้วยตนเอง และให้นำใบเสร็จรับเงินที่มีมูลค่าไม่ต่ำกว่าเงินสดนั้น มาเป็นหลักฐานแสดงกับสถานศึกษา โดยมีการตรวจสอบจากคณะกรรมการสถานศึกษาและภาคี4 ฝ่ายอีกชั้นหนึ่ง
           สำหรับเกณฑ์ของเงินที่จะจัดสรรเป็นค่าเครื่องแบบนักเรียนตามรายหัว มีดังนี้
-  อนุบาล                               คนละ    300    บาทต่อปี
-  ประถมศึกษา                        คนละ    360    บาทต่อปี
-  มัธยมต้น                             คนละ    450   บาทต่อปี         
-  มัธยมปลาย                         คนละ    500    บาทต่อปี
-  ปวช.                                  คนละ    900    บาทต่อปี
         
ทั้งนี้รายการเครื่องแบบนักเรียนที่กำหนดจะจัดสรรคือ คนละ 2 ชุดต่อปี ตามราคามาตรฐานคุณภาพ ซึ่งจากผู้ปกครองรายใดจะซื้อเครื่องแบบนักเรียนที่มีราคาสูงกว่า ก็จะต้องรับภาระในราคาส่วนต่างเอง และหากผู้ปกครองมีชุดเครื่องแบบนักเรียนเพียงพออยู่แล้วก็สามารถนำเงินไปซื้อเข็มขัด รองเท้า ถุงเท้า ชุดกีฬา ชุดลูกเสือ ยุวกาชาดเนตรนารีได้
นอกจากนี้ ได้มีการกำหนดให้สำรวจผู้ปกครองที่ประสงค์จะสละสิทธิ์ไม่รับเงินค่าเครื่องแบบนักเรียน โดยถือเป็นนโยบายที่ทุกสถานศึกษาต้องก า ร รณ รงค์ให้มีการเสียสละสำหรับผู้มีฐานะดีซึ่งสถานศึกษาจะได้มีหนังสือตอบขอบคุณและเชิดชูเกียรติผู้ปกครองที่แสดงความประสงค์สละสิทธิ์ และจะมีการนำเงินกองทุนที่ได้จากการสละสิทธิ์ไปช่วยเหลือสถานศึกษาที่ด้อยโอกาสต่อไป

หมวดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน

กระทรวงศึกษาธิการได้จัดสรรงบประมาณให้แก่สถานศึกษาสำหรับบริหารจัดการกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียนได้เองตามวัตถุประสงค์ใน 4 กิจกรรม ได้แก่
   1. กิจกรรมวิชาการ โดยจัดอย่างน้อย 1 ครั้ง ต่อคนต่อปี
   2. กิจกรรมด้านคุณธรรมจริยธรรม เช่น ค่ายลูกเสือ ยุวกาชาด เนตรนารีโดยจัดอย่างน้อย 1 ครั้ง ต่อคนต่อปี
   3. ทัศนศึกษานอกสถานที่ โดยจัดอย่างน้อย 1 ครั้ง ต่อคนต่อปี
   4. บริการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศหรือคอมพิวเตอร์โดยจัดอย่างน้อย 40 ชั่วโมง ต่อคนต่อปี
           
ซึ่งในรายละเอียดการดำเนินการของสถานศึกษาแต่ละแห่งนั้นคณะกรรมการสถานศึกษาและภาคี 4 ฝ่าย ควรจะมีการพิจารณาร่วมกันโดยคำนึงผลสัมฤทธิ์ด้านคุณภาพที่จะเกิดขึ้นกับผู้เรียนเป็นหลักสำหรับเกณฑ์ของเงินที่จะจัดสรรเป็นค่ากิจกรรมพัฒนาผู้เรียน มีดังนี้

ก. การศึกษาในระบบ
-  อนุบาล                               คนละ    215     บาทต่อภาคเรียน
-  ประถมศึกษา                        คนละ    240    บาทต่อภาคเรียน
-  มัธยมต้น                             คนละ    440     บาทต่อภาคเรียน        
-  มัธยมปลาย                         คนละ    475     บาทต่อภาคเรียน
-  ปวช.                                  คนละ    475     บาทต่อภาคเรียน
ข. การศึกษานอกระบบ
-  ประถมศึกษา                       คนละ    140    บาทต่อภาคเรียน
-  มัธยมต้น                             คนละ    290     บาทต่อภาคเรียน        
-  มัธยมปลาย                         คนละ    290    บาทต่อภาคเรียน
-  ปวช.                                  คนละ    530     บาทต่อภาคเรียน

 

“ประหยัดงบประมาณ
มีความโปร่งใส
มีปัญหาในทางปฏิบัติน้อยที่สุดเกิดการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย”

 

 

 

   

กลับสู่ด้านบน