...ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์ โรงเรียนพิศาลปุณณวิทยา องค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น มีวินัย ใส่ใจ สิ่งแวดล้อม....

 

ชื่อเรื่อง                 การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับการจัดการเรียนรู้ แบบคิดแก้ปัญหาอนาคต เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา รายวิชา ฟิสิกส์ เรื่อง ของไหล สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
ผู้วิจัย                     นางทิวาภรณ์ เลิศวีรพล ตำแหน่งครู วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ
                             โรงเรียนพิศาลปุณณวิทยา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น
ปีการศึกษา           2562 ภาคเรียนที่ 1

บทคัดย่อ

                การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบคิดแก้ปัญหาอนาคตเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เรื่อง ของไหล 2) ศึกษาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เรื่อง ของไหล 3) พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เรื่อง ของไหล 4) ส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เรื่อง ของไหล 5) สำรวจความพึงพอใจของครูและนักเรียนหลังการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เรื่อง ของไหล การวิจัยเป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนพิศาลปุณณวิทยา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 21 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ฟิสิกส์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา            2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดแก้ปัญหา และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของครูและนักเรียน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เนื้อหา
                ผลการวิจัยพบว่า

  1. รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบคิดแก้ปัญหาอนาคตเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เรื่อง ของไหล มีชื่อว่า Orientation; Explore; Problem Solution Thinking; Assessment Model (OEPA Model) มีองค์ประกอบ คือ หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการเรียนการสอน สาระความรู้ ทักษะกระบวนการ สิ่งที่ส่งเสริมการเรียนรู้ ระบบสังคมสิ่งสนับสนุน และหลักการตอบสนอง      ซึ่งกระบวนการเรียนการสอนมี 4 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นนำเข้าสู่บทเรียนและสร้างความเข้าใจ (Orientation: O) 2) ขั้นสำรวจและค้นหา (Explore: E) 3) ขั้นคิดแก้ปัญหา (Problem solution thinking: P) และ 4) ขั้นประเมิลผล (Assessment: A) รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพ เท่ากับ 85.25/88.14 เมื่อเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนดไว้
  2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6ที่ได้รับการสอนตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา สูงกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
  3. ความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีจำนวนนักเรียนผ่านเกณฑ์คิดเป็นร้อยละ 88.24 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้
ครูและนักเรียนมีความพึงพอใจหลังการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอยู่ในระดับมาก

กลับสู่ด้านบน